หมวกกันน็อครถมอเตอร์ไซค์

      ทุกวันนี้ พาหนะที่ถือว่ามีจำนวนมากในท้องถนนประเทศไทยคงหนีไม่พ้นรถจักรยานยนต์นั่นเอง เพราะมีราคาหลายระดับ ขับขี่ลัดเลาะได้สะดวก มีสมรรถนะให้เลือกหลากหลายตามการใช้งานหรือรสนิยม โดยอาจมีทั้งรถขนาดเล็ก ๆ พอดีการใช้งานในเมือง หรือรถขนาดใหญ่สุดเท่ที่วิ่งฉิว และแน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ควรคำนึงถึงตาม มาก็คืออุปกรณ์เสริมความปลอดภัย อย่าง หมวกกันน็อค ซึ่งกฎหมายบังคับให้ผู้ขับขี่ทุกคนสวมหมวกกันน็อคเพื่อความปลอดภัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังมีหลายคนยังไม่วิธีการเลือกหมวกกันน็อคที่ถูกต้องกันสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่คงเน้นดีไซน์และราคาซะมากกว่า แต่จริง ๆ แล้วยังมีข้อควรพิจารณามากกว่านั้นอีกเยอะ ด้วยเหตุนี้ Helmet-THSHOP จึงขอนำเสนอเคล็ดไม่ลับในการเลือกหมวกกันน็อคมาแนะนำให้ทราบกันครับ

IN THE PRESS

ชนิดของหมวกกันน็อค

มีอยู่ 5 ชนิด

ชนิดเต็มหน้า (Full Face)

เป็นหมวกกันน็อกที่ออกแบบมาให้รับกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ปกป้องครอบคลุมตั้งแต่ท้ายทอยไปจนถึงปลายคาง มีช่องเจาะบริเวณตาและจมูกเพื่อให้มองเห็นและหายใจได้สะดวก ปิดด้วยกระจกบังลม ซึ่งอาจมีสีที่แตกต่างกันออกไป แต่กฎหมายไทยระบุว่ากระจกบังลมต้องใสพอจะมองเห็นใบหน้าผู้ขับขี่ได้ ไม่เช่นนั้นก็อาจโดนปรับเช่นกัน นอกจากนี้ หมวกกันน็อกชนิดเต็มใบหน้ายังมีผลการวิจัยชี้ว่าสามารถปกป้องผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์มักบาดเจ็บที่บริเวณคางมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์

แบบมอเตอร์ครอส (Motocross)

หมวกกันน็อกชนิดนี้ดัดแปลงมาจากแบบเต็มหน้าเพื่อใช้ขี่แบบออฟโร้ดโดยเฉพาะ มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้า โดยเพิ่มส่วนบังแดดและยืดบริเวณที่ปิดคางออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวมาขณะขับขี่ แต่ได้ถอดกระจกบังลมออกเพื่อให้อากาศผ่านได้สะดวก ซึ่งผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะเลือกสวมแว่นตาครอบเพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวเข้ามาด้วย

แบบเต็มใบหรือเปิดหน้า (Open face)

ในต่างประเทศเรียกหมวกชนิดนี้ว่าแบบ 3/4 ซึ่งก็เรียกตามรูปร่างของมันคือครอบคลุมหัวเพียง 3 ใน 4 เท่านั้น แต่เป็นหมวกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถปกป้องได้ทั้งใบหน้าก็ตาม หมวกชนิดนี้ จะมีกระจกบังลมครอบทั้งใบ ซึ่งช่วยป้องกันฝุ่นและแมลงที่อาจรบกวนการขับขี่ของเราได้

แบบโมดูลา (Modular)

เป็นหมวกกันน็อกรูปร่างแบบเดียวกับแบบเต็มใบ แต่สามารถพับส่วนคางขึ้นมาได้ พัฒนามาจากแบบเต็มใบซึ่งไม่มีที่ปิดคาง โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในหมู่ตำรวจในต่างประเทศ เพราะสามารถเปิดบริเวณปากเพื่อพูดคุยหรือแม้กระทั่งกินอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องถอดหมวก และยังให้การปกป้องบริเวณคางเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้าอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหมวกชนิดนี้ยังมีมาตรฐาน 2 แบบได้แก่ –P ซึ่งแปลว่าออกแบบให้ปกป้องบริเวณคาง กับ –NP แปลว่าไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับบริเวณคางนั่นเอง

แบบครึ่งใบ

มีลักษณะครอบเพียงด้านบนของหัวเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยงานมาตรฐานทั้ง SNELL และ DOT กำหนดเป็นขั้นต่ำสุดสำหรับผ่านมาตรฐาน โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมช่วงยุค 1960 ปัจจุบันหลายหน่วยงานในต่างประเทศยกเลิกมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหมวกชนิดนี้แล้ว เนื่องจากไม่สามารถปกป้องส่วนท้ายทอยซึ่งมีความสำคัญได้

มาตรฐานของหมวกกันน็อค

            ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยเหล่าบรรดา "นักเลงมอเตอร์ไซด์" ทั้งหลายนั้นอันดับแรกคงจะนึกถึงกันแต่หมวกกันน็อคหรือหมวกนิรภัย แต่หารู้กันหรือไม่ว่าหมวกกันน็อคแต่ละใบ แต่ละยี่ห้อที่ออกมาจำหน่ายนั้นมี "มาตรฐาน" หรือค่าทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ ค่อนข้างมากมาย มาดูว่าแต่ละมาตรฐาน แต่ละชื่อเรียกมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

1.มาตรฐาน SNELL 2000

เป็นมาตรฐานหมวกนิรภัยที่ถูกอ้างอิงและใช้เป็นต้นแบบมาตรฐานหมวกนิรภัยสำหรับขับขี่มอเตอร์ไซด์ในหลายประเทศ มีการทดสอบหลายประการเพื่อที่จะเป็นการรับรองคุณภาพหมวกนิรภัยในแต่ละชุดที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ snell เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงความเข้มข้นในการทดสอบอยู่ตลอดเวลา ทั้งขอบเขตทดสอบการทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทกบนหมวกนิรภัยและวิธีการทดสอบอื่นๆ เพื่อพัฒนาระดับการป้องกันให้สอดคล้องกับสภาพการเกิดอุบัติเหตุในปัจจุบัน

     นอกเหนือจากเรื่องการตรวจสอบโครงสร้างภายนอก โลหะ อุปกรณ์เสริมและรูปทรงแล้ว มาตรฐาน SNELL 2000 ยังมีการทดสอบเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การทดสอบต่างๆ อาทิ การทดสอบการมองเห็นของผู้สวมใส่ เช่น

-ระดับการมองเห็นในแนวระดับระนาบจากจุดกึ่งกลางแนวดิ่งด้านหน้าต้องเห็นได้อย่างน้อย 105 องศาทั้งด้านซ้ายและขวา

-ระดับการมองเห็นในมุมเงยต้องมองเห็นได้อย่างน้อย 7 องศา

-ระดับการมองเห็นในการก้มต้องมองเห็นได้อย่างน้อย 30 องศา

-ทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทกจะต้องมีค่าความเร่งสูงสุดไม่เกิน 300 G

-ทดสอบประสิทธิภาพของสายรัดคางซึ่งไม่คสรยืดเกิน 300 มม.

-จะต้องไม่มีส่วนประกอบใดๆ ของระบบสายรัดคางหลุดหรือฉีกขาด รวมทั้งความกระชับแน่นของสายรัดคาง เมื่อมีการทดสอบหมวกนิรภัยต้องไม่หลุดจากศรีษะจำลอง

-เกณฑ์การทดสอบแรงทะลุทะลวง หัวเจาะต้องไม่ทะลุจนสัมผัสกับศรีษะจำลอง  

-ทดสอบบริเวณคางของหมวกนิรภัยแบบเต็มใบ-ปิดหน้า จะต้องมีการยุบตัวไม่เกิน 60มม. และไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งแตกหักจนสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้สวมใส่

-เกณฑ์การทดสอบหน้ากาก กระสุนจะไม่สามารถเจาะเข้าหน้ากากได้

-ความเร็วในการถอดหมวกนิรภัยออกจากศรีษะ (เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ) จะต้องถอดหมวดนิรภัยออกจากศรีษะจำลองได้ทันที หรือไม่เกิน 30 วินาที

2. มาตรฐาน DOT (FMVSS 218) Department Of Transpolation

มาตรฐาน DOT เป็นมาตรฐานหมวกนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ที่กำหนดขึ้นโดยสำนักงานขนส่งของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักเช่นเดียวกันกับมาตรฐาน SNELL แต่มีเกณฑ์ และวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากมาตรฐาน DOT พิจารณาว่าการทดสอบที่กำหนดขึ้นมาใหม่นั้นเพียงพอต่อการป้องกันผู้สวมใส่หมวกนิรภัยได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังเพิ่มความเข้มข้นในการออกใบรับรองให้กับโรงงานผู้ผลิตหมวกนิรภัย เพื่อที่จะทำให้ผู้ผลิตนั้นสามารถผลิตหมวกนิรภัยได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ไม่ต้องมายึดติดกับเรื่องมาตรฐานที่เกินความจำเป็น นอกเหนือจากเรื่องของการตรวจสอบโครงสร้างภายนอก โลหะ อุปกรณ์เสริมแล้ว มาตรฐาน DOT มีการทดสอบเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การทดสอบดังนี้

-เกณฑ์การทดสอบการมองเห็นของผู้สวมใส่ โดยจะต้องมีระดับการมองเห็นในแนวระนาบจากจุดกึ่งกลางแนวดิ่งด้านหน้าต้องเห็นได้มากกว่า 105 องศา ทั้งด้านซ้ายและขวา

-เกณฑ์การทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทก จะต้องมีค่าความเร่งไม่เกิน 400 G ช่วงเวลาในการกระแทกที่ความเร่งมีค่า 150 G ต้องไม่เกิน 4.0x103 วินาที และช่วงเวลาในการกระแทกที่ความเร่งมีค่า 200 G ต้องไม่เกิน 2.0x103 วินาที

-เกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพของสายรัดคาง โดยสายรัดคางควรยืดยาวได้ไม่เกิน 25 มม. และต้องไม่มีส่วนประกอบใดของระบบสายรัดคางหลุด หรือแยกออกจากกัน

-ทดสอบแรงทะลุทะลวง หัวเจาะต้องไม่ทะลุจนสัมผัสกับศรีษะจำลอง

3. มาตรฐาน E 2205

มาตรฐาน E 2205 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายสำหรับผู้ใช้รถมอเตอร์ไซด์ในทวีปยุโรป มีวิธีการทดสอบที่แตกต่างไปจาก SNELL และ DOT ที่สำคัญคือวิธีการทดสอบเป็นแบบสามแกน (Tri-axial) และตำแหน่งที่ทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทกของหมวกนิรภัยมีการกำหนดจุดแน่นอน โดยการทดสอบกระแทกเพียง 1 ครั้งต่อ 1จุด เท่านั้น โดยจะใช้แรงในการกระแทกที่รุนแรงกว่าแบบมาตรฐาน DOT มาตรฐาน E 2205 ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการทดสอบหมวกนิรภัยที่ใช้ในการแข่งขันรถจักรยานยนต์ในทวีปยุโรป จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นสากล และเมื่อหมวกนิรภัยผ่านการตรวจสอบโครงสร้าง โลหะ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ แล้วหมวกนิรภัยต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบอื่นๆ

-การมองเห็นของผู้สวมใส่

-การทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทก

-การทดสอบประสิทธิภาพ และความกระชับของสายรัดคาง

-ความคงทนของส่วนหน้ากาก 

-เกณฑ์การทดสอบพิเศษของสายรัดคางในเรื่องของขนาด และรอยต้านทาน

4. มาตรฐาน JIS T 8133:2000

มาตรฐาน JIS 2000 เป็นมาตรฐานหมวกนิรภัยในประเทศญี่ปุ่นที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะเป็นการนำเอาส่วนที่ดีของมาตรฐาน DOT และมาตรฐาน E 2205 มารวมกันแล้ว มาตรฐานนี้ยังปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาจากมาตรฐาน JIS 1997 โดยมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงจากมาตรฐานเดิมคือ การรวมเอาวิธีการทดสอบแบบ Uni-axial และ Tri-axial เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าหากเป็นหมวกนิรภัยแบบเต็มใบจะเพิ่มความรุนแรงของการกระแทกในครั้งแรก แต่ละความรุนแรงของการกระแทกในครั้งที่สองลง ส่วนหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบทดสอบโดยการกระแทก 1 ครั้งต่อจุด ซึ่งอาจจะสันนิษฐานได้ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับข้มมูลสติถิในปัจจุบันนั่นเอง ทั้งนี้นอกเหนือจากการตรวจโครงสร้างภายนอกแล้ว หมวกนิรภัยต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบ

-การมองเห็นของผู้สวมใส่

-การดูดกลืนแรงกระแทก

-ทดสอบประสิทธิภาพต่างๆ ของสายรัดคาง

5. มาตรฐาน มอก. TIS 369-2539

มาตรฐานหมวกนิรภัยของประเทศไทย TIS 369-2539 นี้ เป็นมาตรฐานฉบับปรับปรุง
อ้างอิงมาตราฐานจากเว็บไซต์ของรัฐบาล www2.rid.go.th ดาว์นโหลดไฟล์ pdf

ติดต่อผู้ดูแล

เบอร์โทรศัพท์ 08X-XXX-XXXX

ที่อยู่ : 123 1 ตำบล อำเภอ จังหวัด

ชื่อผู้ดูแล .......................................

......
..............